วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 10 

วันพฤหัสบดี ที่ 10 มีนาคม 2559

เวลาเรียน  08.30-11.30 น.


วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2559 08.30-11.30

ความรู้ที่ได้รับ

-ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวตามจังหวะแต่ในครั้งนี้ ได้เพิ่มมาอีกสองอย่างก็คือ
1.กิจกรรมเคลื่อนไหวตามจังหวะเมื่ออาจารย์เคาะ 1ครั้งให้ก้าวออกไปข้างหน้า 1ก้าว เมื่อเคาะ 2 ครั้งก้าวออกไปข้างหน้า 2 ก้าว เมื่อเคาะรั่วๆเร็วๆให้เราเคลื่อนไหวแบบเร็วไปทางไหนก็ได้ แต่เมื่อเคาะสองครั้งติดกันให้เรารีบหยุดทันที แต่ดิจกรรมนี้อาจารย์ได้เพิ่มท่าทางและระดับเคลื่อนไหวเพิ่มมาด้วย ให้เราทำท่าต่างๆ




2.เป็นกิจกรรมผู้นำผู้ตามโดยให้เด็กๆจับมือกัน และ ก็ให้เด็กๆยืนตัวตรงเราก็เลือกเด็กออกมา1คน แล้วให้ทำท่าของสัตว์ที่เด็กต้องการจากนั้นก็ให้เพื่อนๆทำตาม

3.เป็นกิจกรรมสุดท้ายคือท่าผ่อนคลายให้เด็กได้ผ่อนคลายหลังจากที่เราเคลื่อนไหวมาแล้ว อาจารย์ได้สอนท่าผ่อนคลายทั้นอน ทั้งเล่าเรื่องราว และนวดส่วนต่างๆของร่างกาย



-จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้เราคิดกิจกรรมแล้วออกมาทำหน้าห้อง
อาจารย์ให้คำปรึกษาเพื่อนแต่ล่ะในการนำกิจกรรมเคลื่อนไหวครั้งนี้

-สุดท้ายดิฉันและเพื่อนๆก็ได้ออกไปนำกิจกรรมหน้าชั้นเรียนทีล่ะคน คนล่ะประมาณ 5 นาที






ประเมินตัวเอง

วันนี้ดิฉันและเพื่อนๆได้ออกไปทำกิจกรรมกันหน้าชั้นเรียนเป็นทั้งตัวอย่างและออกไปทำกิจกรรมจริงๆ ที่จริงดิฉันอยากทำให้สุดความสามารถแต่ติดปัญหาเดียวคือป่วยและเสียงมีปัญหาถ้าดิฉันรักษาให้หายได้จะทำให้เต็มที่กว่านี้ค่ะ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆบางคนตั้งใจบางคนไม่ตั้งใจเท่าไรวันนี้แลดูเหนื่อยๆกันไม่ค่อยสนุกสนานเท่าไร แต่เพื่อนๆก็ตั้งใจทำกิจกรรมและฟังอาจารย์ค่ะ

ประเมินครูผู้สอน

  อาจารย์สอนเคล็ดลับวิธีเก็บเด็กให้ฟังเราและสอนการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆให้ได้ดูและทำ และยังมีการบอกวิธีการนำกิจกรรมอีกด้วยว่าควรทำอย่างไร

การบันทึกครั้งที่ 9 

วันเสาร์ที่ มีนาคม 2559

เวลาเรียน  08.30-10.30 น.

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2559 08.30-10.30

ความรู้ที่ได้รับ

-ในวันนีอาจารย์ได้ให้เรานำอุปกรณ์ไปทำเป็นเครื่องเคาะจังหวะ ซึ่งดิฉันนำเอา ขวดน้ำไปสองขวดใหญ่ ปลายขวดน้ำที่ตัดแล้วเหลือแต่หัวอีก4 อันและ เมล็ดถั่วเขียว



-จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้ลงมือประดิษฐิ์ที่เคาะดิฉันทำออกมาสองอันเป็นอันเล็กๆเหงาะมือ ซึ่งเสียงต่างกัน อันแรก ใส่ถั่วเขียว อันที่สองใส่ ลูกปัดกับกระดิ่งอีกสองอันให้เป็นเสียงที่แตกต่างกัน





ประเมินตัวเอง

ดิฉันชอบทำงานประดิษฐ์แบบนี้เป็นอย่างมากเลยค่ะให้นั่งทำทั้งวันยังได้ เพราะชอบทำอะไรที่ใช้งานฝีมือมากกว่าค่ะ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆมากันไม่เยอะวันนี้แต่ก็สนุกสนานหัวเราะกันเหมือนเคย ช่วยกันทำงานคนเสร็จก่อนก็มานั่งช่วยคนที่ยังทำไม่เสร็จเพื่อให้งานเพื่อนเสร็จเร็วๆ

ประเมินครูผู้สอน

  อาจารย์ใจดีแจกของเยอะมากๆเลยค่ะ ทำให้ดิฉันได้งานที่ออกมาค่อนข้างพอใจ และอาจารย์ยังมีงานตัวอย่างไว้ให้เราดูเป็นแบบอย่างด้วยค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 8 

วันพุธ ที่ 2 มีนาคม  2559 เวลา  08.30-16.30 

การศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์



ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
ประวัติโรงเรียน
        โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่ในอาคารสงเคราะห์พิบูลเวศม์ ถนนสุขุมวิท 71 กรุงเทพมหานคร ในที่ดินของธนาคารสงเคราะห์ (ปัจจุบันโอนเป็นอาคารเคหะแห่งชาติ) ซึ่งมีเนื้อที่จำนวน 1 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา พร้อมอาคานึกชั้นเดียว จำนวน 2 หลัง หลังละ 2 ห้องเรียน (ได้รื้อก่อสร้างเป็นตึกอาคารเรียน 1 และอาคารเรียน 2 ในปัจจะบัน) และอาคารทรงไทย 1 หลัง ได้มอบให้กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนชั้นอนุบาลเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2498 โดยตั้งชื่อว่า "โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์" สังกัดแผนกการศึกษาอนุบาล กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา

       วันที่ 1 ตุลาคม 2523 โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติการโอนโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2523 เมื่อวันทีี่ 12 พฤษาคม 2524 การเคหะแห่งชาติได้ยกกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดินเพิ่มให้อีก 1 แปลง มีเนื้อที่ 1 ไร 3 งาน 88 ตารางวาซึ่งติดกับแปลงที่ดินเดิม (เนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา) ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ รวมเป็นเนื้อที่ผืนเดียวกันรวม 3 ไร่ 2 งาน 76 ตารางวา เพื่อให้ใช้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาขยายโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ วันที่ 7 กรกฎาคม 2546 โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามประกาศในราชกิจจานุเบกขา เล่มที่ 120 ตอนที่ 63 ก ปัจจุบันทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 3 ขวบ, ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่6
ผู้บริหาร
นายสุวรรณ ยะรังวงษ์
จำนวนครู 125 คน
จำนวนห้องเรียน มีระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา
ระดับปฐมวัยมี 13 ห้อง 
-อนุบาล 1 มี 5 ห้อง
-อนุบาล 2 มี 5 ห้อง
-อนุบาล 3 มี 3 ห้อง
ห้องที่ไปศึกษา ชื่อครูประจำชั้น ชื่อครู พัชรี  เมตตาจิต
นักศึกษาฝึกสอน ช่ือนางสาวจารุวรรณ(ส้ม)
ห้องที่ไปสังเกตคือชั้นอนุบาล2/4 มีนักเรียน 20 คน ชาย 12 คน หญิง 8 คน เป็นกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่เกี่ยวข้องกับผีเสื้อ



การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยมีรูปแบบการจัดการศึกษาและนวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัยอย่างไรบ้าง
-โรงเรียนมีการนำนวัตกรรมทางการศึกษา ก็คือ 
1.การบรูณาการ เน้นพัฒนาเด็ก 4 ด้าน สอนวิทย์-คณิต รอบตัว ภาษาธรรมชาติ
2.สอนโปรเจคต่างๆ
3.พหุปัญญา
คุณครูท่านกล่าวว่า เรานำทุกอย่างที่คิิดว่าดีมาจัดในแผนการสอน
-กิจกรรมที่จัดให้กับเด็กปฐมวัยก็คือ การนั่งเป็นวงกลมและกิจกรรมเคลื่อนไหวตามจังหวะ  มีการเคลื่อนไหวทำท่าผีเสื้อ บินแล้วเคลื่อนไหวไปทั่วห้อง มีระดับต่ำ ก้มลงพื้นบินระดับสูง กลาง ต่ำ และยังมีการให้นอนกลิ้งอีกด้วยค่ะ




-วิธีการประเมินเด็ก คือ
1.ประเมินตามสภาพจริง การสังเกต เช่นเด็กสามารถกระโดขาเดียวได้ไหมกรือยังไม่ค่อยคล่องแคล่ว
2.แบบประเมินพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
3.เก็บงานของเด็ก แฟ้มประวัติเป็นรายบุคคล
การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียนเป็นอย่างไรบ้างมีสื่อการสอนอย่างไร
     การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนน่าเรียนมากมีมุมต่างๆที่แยกไว้แล้วของเล่นก็จัดอยู่ในที่เด็กสามารถหยิบ จับได้สะดวกเพียงแต่ห้องเล็กไปหน่อยหรือของเยอะเกินไป  สื่อในการสอนมีหลายหลายเช่น คอมพิวเตอร์ ทีวี แผ่นชาร์จต่างๆ 
ไ้ด้รับความรู้จากการดูงานนครั้งนี้ก็คือ 
    ได้เห็นเด็กๆแต่ละห้องแต่ละชั้นปีเรียนหรือทำกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป ได้รับความรู้จากคุณครูที่พาชมและได้ดูรุ่นพี่พาเด็กๆทำกิจกรรมอีกด้วยเผื่อในอนาคตเราได้นำไปใช้บ้าง
ความประทับใจจากการศึกษาดูงานครั้งนี้
    ได้รับการดูแลต้อนรับอย่างดี อาหารว่างและข้าวเที่ยงอร่อยมากๆเลยค่ะ และชอบห้องที่มีครูต่างชาติสอนเป็นภาษาอังกฤษเด็กๆ ถ้าเป็นไปได้ในอนาคตอย่างจะสอนห้องที่เป็นภาษาอังกฤษด้วยค่ะอยากฝึกภาษาไปในตัวอีกด้วยค่ะ